ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.
เรามีบริษัทให้ท่านเลือกซื้อ พรบ. มากกว่า 30 บริษัท

ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับเป็นการประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งบังคับให้รถทุกคันต้องทำพ.ร.บ. ที่กฎหมายกำหนดต้องจัดให้มีการทำประกันภัย พ.ร.บ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง และช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากการใช้รถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือแม้กระทั่งคนเดินเท้า ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถให้ได้รับการรักษาพยาบาล อย่างทันท่วงที
โดยได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย เป็นค่ารักษาพยาบาลหรือค่าปลงศพแล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้ ให้ความคุ้มครอง เฉพาะความเสียหาย ที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตร่างกาย และอนามัยเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของบุคคลแต่อย่างใด โดยควาคุ้มครอง ที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้
ตารางความคุ้มครอง ประกันภัยภาคบังคับ (พรบ) (Download)
ตารางเบี้ยพรบ. ขายราคาเท่ากันในทุกๆบริษัท (Download) วิธีปฏิบัติสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับประกันภัย พ.ร.บ. (Download)
ทางคปภ ได้พัฒนาระบบ e-claim เพื่อรองรับการเคลมให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
โดยเอกสารในการเคลม ที่ต้องเตรียมประกอบไปด้วย
ประเภทรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร เป็นรถที่เจ้าของมีไว้ใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วย กำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ ดังนั้น การที่มีรถบางประเภท กรมการขนส่งทางบก ไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น แล้วก็จัดเป็นรถ ที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ด้วย
ประเภทรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.
1.สำหรับรถเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และรถสำหรับผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์
2.รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวัง กำหนด
3.รถของกระทรวง ทบวงกรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และส่วนราชการท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร
4.รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระขององค์กรใดๆ
ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.
ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถ ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ และผู้นำรถที่จดทะเบียน ในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีประกันภัย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กฎหมายกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.
ผู้ประสบภัย หมายถึง ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถก็จะได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ. นี้
อัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.
กำหนดเป็นอัตราเบี้ยคงที่อัตราเดียว แยกตามประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ บริษัทไม่สามารถคิดเบี้ยประกันภัยต่างจากที่นายทะเบียนกำหนด เรามีบริษัทประกันภัยให้ท่านเลือก ซื้อได้ในราคาส่ว่นลดสมาชิก
ประกันภาคสมัครใจ
เป็นเรื่องที่กฏหมายไม่ได้มีการบังคับให้มีการทำประกันภัย ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้เอาประกันภัยที่เล็งเห็นถึงความเสี่ยงภัยแห่งตน ณ ปัจจุบันกรมธรรมที่ออกสู่ท้องตลาดจะให้ความคุ้มครองโดยแบ่งตามประเภทของกรมธรรม์ดังต่อไปนี้
กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 1
ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
- ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
- ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
- ความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 2
ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
- ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
- ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 3
ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
- ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
- ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 4
กรมธรรม์ประกันภัย ประเภท 5
ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้